สุขภาพ

การดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอด

หน้าที่ที่สำคัญของการเป็นแม่ นอกจากให้กำเนิดบุตรแล้ว ภายหลังคลอดหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร และการส่งเสริมให้บุตรกินนมแม่แล้ว ที่ขาดไม่ได้อีกอย่างในช่วงหลังคลอดก็คือการดูแลตนเอง เนื่องจากภายหลังการคลอดแล้วสรีรวิทยาภายในร่างกายก็จะมีการปรับเปลี่ยนไป กว่าจะเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวได้หรือเข้าสู่ภาวะปกติคือ 6- 8 สัปดาห์ หลังคลอด

  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของมดลูกหลังคลอด การเปลี่ยนแปลงของเต้านม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังคลอด หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของจิตสังคมหลังคลอด หากการดูแลตนเองหลังคลอดไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง ก็จะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพหรือภาะเวี่ยงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจได้ ดังนั้นการดูแลตนเองหลังคลอดที่สำคัญ ดังนี้

1.การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลังคลอด เน้นอาหารที่มีโปรตีน อาหารหลักครบ 5 หมู่ เนื่องจาก หลังคลอดการต้องการสารอาหารและพลังงานของทารกมีมาก เพราะแม่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือเมื่อแม่กินอะไร ลูกก็จะได้กินสิ่งนั้น และเน้นอาหารที่เพิ่มน้ำนม เช่น แกงหัวปลี น้ำขิง หากต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอแล้ว ก็จะไม่มีอาหารแสลงสำหรับแม่หลังคลอด ยกเว้นพวกเครื่องดื่มชา กาแฟ หรือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 

2.การพักผ่อนนอนหลับหลังคลอด อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง จัดสรรเวลาในการดูแลบุตร เช่น ช่วงเช้าเวลาที่ลูกนอน แม่ควรนอนพักด้วย หาคนช่วยเลี้ยงในช่วงกลางวัน 

3.การทำงานในช่วงหลังคลอด ไม่ควรยกของหนัก ให้หลีกเลี่ยงไปก่อน เนื่องจากแม่บางรายอาจมีแผลผ่าตัดทางหน้าท้อง

4.การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการมาตรวจหลังคลอด ในช่วง 6-8 สัปดาห์ หลังคลอด เนื่องจากการคลอดยังมีแผลเปิดของปากมดลูก เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรสวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์

5.การอยู่ไฟหลังคลอด แล้วแต่ความเชื่อของแม่แต่ละคนที่จะอยู่ไฟหรือไม่อยู่ไฟ แต่ไม่ควรอยู่ไฟในช่วง  1 สัปดาห์หลังคลอดในมารดาที่คลอดเองทางช่องคลอด เพราะแผลฝีเย็บยังไม่ดี และไหมที่ใช้เย็บอาจละลายได้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังคลอด

6.การบริหารร่างกายหลังคลอด ควรมีการบริหารร่างกายหลังคลอดทันทีที่สามารถทำได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ จะมีท่าในการบริหารเพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังคลอดได้ เช่น กายบริหารที่ช่วยเลี้ยงการหายของแผลฝีเย็บ การส่งเสริมการไหลของน้ำคาวปลา กายบริหารที่ทำให้ช่องคลอดกระชับ เป็นต้น 

7.การมาตรวจหลังคลอดตามนัดในช่วง 6-8 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อประเมินการหายของแผล ฝีเย็บ การ หายของแผลที่โพรงมดลูก การประเมินการเข้าอู่ของมดลูก รวมทั้งการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

8.หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ น้ำคาวปลามีลิ่นเหม็น หรือทารกมีความผิดปกติ สามารถมาพบแพทย์ได้ก่อนนัด 

 

สนับสนุนโดย  ตรวจเอดส์ ราคา